เป็นความผิดปกติทางด้านพัฒนาการที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และพัฒนาการด้านภาษา
เช่นเดียวกับความผิดปกติทางพัฒนาการอื่น ความผิดปกติทางด้านพัฒนาการการเคลื่อนไหวมีหลายระดับตั้งแต่น้อยไปจนถึงรุนแรง ซึ่งพบประมาณ 5% ของประชากรทั้งหมด
สำหรับสาเหตุนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด นักวิจัยเชื่อว่าเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทในองค์ประกอบด้านพันธุกรรม อย่างไรก็ตามงานวิจัยทางด้านสมองยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเกิดความผิดปกติของสมองในบริเวณใด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ความผิดปกติมักพบตั้งแต่เกิด และมีความถี่ในเพศชายมากกว่าหญิง การได้รับบาดเจ็บทางสมองหรือโรคที่มีผลกระทบต่อสมองและระบบประสาทสามารถก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านการเคลื่อนไหวได้.
บุคคลที่มีปัญหาความผิดปกติทางด้านการเคลื่อนไหว มักมีความยากลำบากในการควบคุมการเคลื่อนไหวที่มีจุดมุ่งหมายให้ถูกต้องแม่นยำ ไม่พบความผิดปกติทางด้านความแข็งแรงของร่างกายที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว แต่พบความผิดปกติทางด้านการประสานงาน การทรงตัว และความสามารถในการจัดการกับวัตถุ
ตัวอย่างลักษณะเด็กที่มีปัญหา Dyspraxia
ซุ่มซ่ามหรือเก้ๆ กังๆ ไม่ชอบหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมกีฬา หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายเคลื่อนไหวหรือมีการเคลื่อนไหว
มักชนสิ่งของหรือสะดุดสิ่งต่างๆ ใช้เวลานานกว่าเด็กคนอื่นๆ ในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น ผูกเชือกรองเท้า แต่งตัว เขียนหนังสือและตัวเลข รับบอล
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหา Dyspraxia ในการช่วยพัฒนาส่งเสริมความสามารถด้านการวางแผนการเคลื่อนไหว
เมื่อสังเกตว่ายิ่งพยายามเท่าไหร่ ดูเหมือนจะยาก งุ่มง่าม เปะปะ เด็กแสดงอาการคับข้องใจ ผู้ปกครองควรให้คำพูดที่ช่วยสนับสนุนหรือสร้างความมั่นใจ ช่วยทำในครั้งแรกๆ ไม่กี่ครั้ง
หากิจกรรมที่ต้องมีการปีนป่าย ไม่ว่าจะปีนข้าม ลง ขึ้น เช่น เล่นเครื่องเล่นในสวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น หรือกิจกรรมข้ามสิ่งกีดขวาง
กิจกรรมที่ให้เด็กต้องวางแผนการเคลื่อนไหว โดยมีคำสั่งง่ายๆ เป็นตัวช่วย ให้โอกาสทำกิจกรรมที่ต้องมีลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกัน เช่น ทำแซนด์วิช ห่อของ งานฝีมือ เพื่อให้เด็กรับรู้ บอกได้ว่าขั้นตอนอะไรบ้างและต้องทำอย่างไร
ภิรัชนา พุ่มพวง
นักกิจกรรมบำบัดประจำศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ
เอกสารอ้างอิง
อ.ดร.สรินยา ศรีเพชราวุธ, เอกสารประกอบการเรียนวิชาประสาทวิทยาศาสตร์ประยุกต์กับการประกอบกิจกรรม(513315) ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ใส่ความเห็น