การทดสอบการได้ยินชนิดต่างๆ

Behavioral Audiometry : การวัดการได้ยินโดยสังเกตพฤติกรรมเพื่อตรวจสอบหาค่าของเสียงเบาที่สุดที่ได้ยิน โดยที่เสียงจะถูกปล่อยออกมาผ่านระบบซาวด์ฟีลด์ หรือที่ครอบหู หรือการใช้ที่ฟังใส่หู และผ่านการสั่นสะเทือนของกระดูกศีรษะ

  • ใช้การสังเกตเด็กแรกเกิดและเด็กเล็กในส่วนของพฤติกรรมที่ปฏิบัติ เช่นการดูดนิ้ว แววตาที่เปิดกว้าง และการมีท่าตกใจเมื่อได้ยินเสียง

  • ใช้การกระตุ้นด้วยสิ่งที่เห็นในการวัดค่าการได้ยินในเด็กเล็ก และเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือในการทดสอบ เช่นใช้ตุ๊กตาที่เคลื่อนไหวได้ หรือของเล่นที่มีแสง หรือวีดีโอเพื่อให้เป็นแรรงเสริมเมื่อเด็กหันหน้าไปยังเสียงที่ใช้ทดสอบ

  • ใช้การเล่นในการวัดค่าการได้ยิน ในเด็กอายุ 2.5 ขวบขึ้นไป โดยใช้เกม (หยอดเหรียญในช่อง ต่อรูป Puzzle) เพื่อสอนให้เด็กทำเมื่อได้ยินเสียง

Speech Audiometry คือการทดสอบโดยใช้คำพูดและประโยค แทนการทดสอบด้วยเสียงบริสุทธิ์ เพื่อประเมินความรวดเร็วและความเข้าใจในเสียงคำพูด

Immittance testing (Tympanometry and Acoustic Reflexes) เป็นวัดค่าเพื่อตรวจดูการทำงานของแก้วหูและโครงสร้างหูชั้นกลาง Tympanometry ใช้ในการบ่งชี้ในว่ามีของเหลวอยู่ด้านหลังแก้วหูในพื้นที่หูชั้นกลางหรือไม่ ตลอดจนตรวจดูการเคลื่อนที่ของแก้วหูว่าเป็นปกติหรือไม่ ส่วน Acoustic Reflexes ใช้ในการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อในหูชั้นกลาง และช่องทางนำเสียงไปยังสมองว่าเป็นปกติหรือไม่

Otoacoustic Emission testing (OAE) วัดค่าการทำงานของโครงสร้างหูชั้นใน OAE คือเสียงสะท้อนที่หูชั้นในสร้างขึ้นในการตอบสนองเมื่อได้รับการกระตุ้นจากเสียงในการทดสอบ เสียงสะท้อนดังกล่าวจะเกิดในผู้ที่มีการได้ยินเป็นปกติ ดังนั้นหากค่าOAE เป็นปกติ ก็สามารถสรุปได้ว่าคนไข้มีโครงสร้างหูชั้นในปกติ แต่หากไม่มีเสียงสะท้อนในขณะทดสอบ ก็อาจเป็นไปได้ว่าบุคคลนั้นอาจมีการสูญเสียการได้ยิน และจะต้องถูกส่งให้ทำการทดสอบขั้นต่อไป เช่นการทดสอบแบบ Auditory Brainstem Response testing การทดสอบแบบ OAE สามารถใช้ทดสอบได้ทั้งกับเด็กแรกเกิดและเด็กโต และมักจะใช้เพื่อประเมินการทำงานของหูชั้นในกับเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งไม่สามารถสังเกตจากการตอบสนองทางพฤติกรรมได้

Auditory Brainstem Response testing (ABR, BAER)
การทดสอบแบบ ABR คือการวัดค่าของการตอบสนองของเสียงจากส่วนก้านสมอง (เบรนสเต็ม) การตรวจนี้ใช้วัดค่าการได้ยินและการทำงานของระบบประสาท การตรวจนี้กระทำโดยการติดขั้วไฟฟ้าไว้ที่บริเวณหลังใบหูและบนศีรษะของเด็ก โดยไม่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เด็กจะนอนหลับขณะทดสอบพร้อมกับให้ใส่ที่อุดหู เมื่อเสียงถูกปล่อยออกมาขั้วไฟฟ้าจะรับการตอบสนองก้านสมอง และส่งสัญญาณไปยังจอคอมพิวเตอร์ การหาค่าการได้ยินจะวัดจากคลื่นสมองที่ตอบสนองต่อเสียงในการทดสอบ การตรวจแบบ ABR มักจะใช้ในการตรวจการได้ยินในเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งไม่สามารถสังเกตจากการตอบสนองทางพฤติกรรมได้ บางครั้งจะมีการใช้การใช้ยานอนหลับในเด็กที่ไม่ยอมนอนหลับ เนื่องจากการทดสอบนี้ใช้เวลาหลายชั่วโมง ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ครอบครัวจะต้องให้สถานพยาบาลเป็นผู้ให้ยานอนหลับและทำการทดสอบต่อไป

ปัญหาที่ลูกประสบอยู่นั้น สามารถแก้ไขได้ ติดต่อศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือวันนี้

Comments are closed.

ปฎิทินการสอน