ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือคือผู้นำด้านการพัฒนาภาษา การสื่อสารแก่เด็กที่มีอายุ 1.5 - 4 ปี รวมถึงเป็นผู้นำในการมอบการบำบัด ดูแล เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภทแบบองค์รวมโดยทีมงานสหวิชาชีพแบบครบวงจร ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือคือผู้นำทางด้านการนำความรู้ ตลอดจนงานวิจัยด้านการศึกษาพิเศษ ประสบการณ์ และแนวทางการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จากต่างประเทศ เพื่อมอบแก่นักวิชาการภายในศูนย์ฯ
ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552 โดยศูนย์ฯ เติบโตจากการมอบบริการฝึกพูดและพัฒนาภาษาให้แก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นบริการหนึ่งของบริษัท อินทิเม็กซ์ ซึ่งได้มอบบริการนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ในระยะแรกเริ่มนั้นผู้มารับบริการได้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเท่านั้น ในระยะแรกเริ่มนั้นผู้มารับบริการได้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเท่านั้น แต่เนื่องด้วยผลจากการประเมินทางภาษาของเด็กที่ได้รับการฝึกนั้นแสดงผลประจักษ์ว่า 40% ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้นมีความบกพร่องทางด้านอื่นร่วมด้วย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความล่าช้าในการพัฒนาภาษาตามเป้าหมาย ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟังอินทิเม็กซ์ ให้ความสำคัญของผลลัพท์การบำบัด ฟื้นฟู จึงมีนโยบายสำคัญ ให้ก่อสร้างศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นศูนย์เอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่มีการบริการแบบครบวงจร มอบให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภท เป็นศูนย์ที่รวมนักวิชาการ ครู นักบำบัด ทีมงานสหวิชาชีพและครอบครัวเด็กให้ทำงานร่วมกันโดยเน้นผลลัพท์ทางการบำบัด ฟื้นฟูเป็นสำคัญ และมีนโยบายให้ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ เป็นศูนย์ที่มุ่งเน้นคุณภาพของบุคคลากร โดยเน้นการมอบความรู้ การอบรม การดูงานด้านเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ของทีมงานสหวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นศูนย์บำบัดเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีคุณภาพ เป็นศูนย์ตัวอย่างในระดับประเทศและในภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
การฝึกพูดโดยใช้การฟัง หรือ Auditory Verbal Therapy (AVT) คือวิธีการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้ “ฟัง” และ “พูด” โดยใช้การได้ยินที่ยังเหลืออยู่ร่วมกับการใช้อุปกรณ์การได้ยินได้แก่เครื่องช่วยฟัง อุปกรณ์เอฟ เอ็ม และ ประสาทหูเทียม การฝึกพูดโดยใช้ทักษะการฟังเน้นการพูดและการฟัง การฝึกพูดโดยใช้การฟังนั้นได้ถูกนำมาใช้ภายใต้ทฤษฎีที่ทำให้เด็กที่หูหนวก และเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เรียนที่จะฟัง และ พูด เพื่อให้เด็กได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนปกติ และอยู่ในสังคมปกติได้
ออทิสซึ่ม คือความบกพร่องตลอดชีวิตของระบบการพัฒนาการทางประสาทที่ซับซ้อน ออทิสซึ่มเป็นความผิดปกติของภาวะการวิเคราะห์ทางเคมีที่ส่งผลในแต่ละบุคคลให้มีอาการแตกต่างกันและในระดับความเข้มข้นและรุนแรงไม่เท่าเทียมกัน ออทิสซึ่มคือภาวะอาการที่กำหนดโดยลักษณะพิเศษที่หลากหลาย โดยลักษณะที่โดดเด่นของออทิสซึ่มได้แก่ความบกพร่องทางด้านปฏิสัมพันธ์ นับตั้งแต่การปฏิเสธการมีปฏิสัมพันธ์ทางอารมณ์กับผู้อื่น ความอึดอัดในการจัดการ หรือการคงสภาพความสัมพันธ์ กลุ่มผู้ที่อยู่ในอาการออทิสซึ่มมักจะมีความบกพร่องด้านวิธีการสื่อสาร อาจหมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ ไม่สนใจสิ่งอื่นใดหรือหมกมุ่นกับสิ่งที่ตนทำในโลกของตนเอง และมักจะไม่ยืดหยุ่น
ณ เวลานี้ ยังไม่มีใครทราบสาเหตุของภาวะออทิสซึ่มมีทฤษฎีมากมายที่บ่งบอกถึงแนวโน้มของสาเหตุของภาวะออทิสซึ่ม แต่งานวิจัยยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้
หากท่านสังเกตว่าเด็กไม่มองหน้า ไม่สบตา มีความบกพร่องทางทักษะสังคม การสื่อสาร มีการหมกมุ่นกับพฤติกรรมซ้ำๆ ไม่สนใจสิ่งอื่นใดหรือหมกมุ่นกับสิ่งที่ตนทำในโลกของตนเอง ท่านควรจะนำบุตรหลานไปรับการประเมินวินิจฉัย ซึ่งผลจากการประเมินจะบ่งบอกได้ว่าบุตรหลานนั้นอยู่ในภาวะกลุ่มอาการออทิสซึ่มหรือไม่
การได้รับทราบว่าลูกของท่านมีภาวะออทิสซึ่มนั้นเป็นประสบการณ์ที่แสนเปล่าเปลี่ยว จากรายงานผู้ปกครองหลายต่อหลายท่านได้แจ้งว่า “เสมือนสูญเสียลูกไปแล้ว” เมื่อทราบว่าลูกมีภาวะออทิสซึ่มหลากหลายครอบครัวรีบนำลูกเข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการโดยให้นักบำบัดรีบเข้าบำบัดรักษา ได้มีงานวิจัยพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยค้นหาความต้องการของเด็กแต่ละคนที่อยู่ในภาวะออทิสซึ่มได้ หากเด็กได้รับการบำบัดรักษากระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่ระยะแรกเริ่มอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
เด็กที่อยู่ในภาวะออทิสซึ่มจำนวนมากที่มีปัญหาทางการสื่อสาร เด็กแต่ละคนนั้นจะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เขาจะพัฒนาทักษะทางการสื่อสารในเวลาของเขา โดยศูนย์ฯ จะใช้วิธีการหลากหลายที่จะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาระบบการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาพ การใช้คำพูด หรือการใช้ท่าทาง ไม่มีอะไรที่รับรองได้ว่าเด็กจะพูด แต่ที่แน่นอนก็คือเด็กจะเลือกวิธีการสื่อสารใด วิธีหนึ่งที่ตนถนัด
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมแล้วนั้นจะได้รับการฝึกพูดจากศูนย์ฯ โดยวิธีการฝึกพูดผ่านทักษะการฟัง การฝึกพูดผ่านทักษะการฟังนั้นคือการสอนให้เด็กเรียนรู้ภาษาพูดผ่านการฟัง มีปัจจัยที่เป็นตัวแปรหลายอย่างที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาภาษาพูด ตัวอย่างของปัจจัยต่างๆ นั้นได้แก่ อายุของเด็ก เมื่อได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียม พยาธิสภาพในหูชั้นใน ความสามารถทางภาษาและการพูดก่อนการผ่าตัด ประสบการณ์การฟัง การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการสอนภาษาในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
โปรแกรมการบำบัดของทางศูนย์ฯ มีความเหมาะสมกับเด็กแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะด้านและทักษะของเด็กแต่ละราย ศูนย์ฯ เชื่อเสมอว่าการจัดโปรแกรมบำบัดรักษาโดยยึดกับความต้องการหลักของบุคคลนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ที่สามารถเป็นไปได้ คือหัวใจสำคัญในความสำเร็จ ของการออกแบบโปรแกรมการบำบัดรักษาในเด็กแต่ละคน
ทางศูนย์ฯ ใช้แบบประเมินที่หลากหลายในการนำแนวทางการให้บริการ และการบำบัดรักษา ซึ่งเป็นแนวทางพื้นฐานในการสร้างแผนการสอน และการบำบัดเป็นรายบุคคล โดยเป้าหมายของการดูแลรักษาเพื่อค้นหาความบกพร่องหลักของความต้องการพิเศษนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาและการพูด ความบกพร่องทางการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเล่นซ้ำ หรือการหลีกหนีกิจกรรมการเล่น และอื่นๆ ที่อาจเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ในการบำบัด ดูแลรักษานั้น ทางศูนย์ฯ จะสอนวิธีการสื่อสาร และการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว สอนให้เรียนรู้ทักษะที่สำคัญที่ควรทำได้เองภายหลังจากที่เสร็จสิ้นจากโปรแกรมของศูนย์ฯ ให้กับเด็กแต่ละคน
ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือมองนอกเหนือไปจากโปรแกรมที่สอน โดยมองถึงสภาพชุมชนของเด็กเหล่านั้น อีกทั้งครอบครัว ซึ่งนั้นถือเป็นกำลังสำคัญในการบำบัดรักษา โดยศูนย์ฯ มอบการบำบัด ดูแล รักษา ให้การสนับสนุน ให้ความรู้และแหล่งข้อมูลต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและเด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกประเภท
โปรดตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรมของศูนย์ฯ คลิ๊กตรงนี้
Sensory Integration Dysfunction (SI Dysfunction)คือความผิดปกติในการทำงานของสมองในส่วนที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการรับรู้ หรือเข้าใจสิ่งที่เข้ามากระตุ้น ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่ได้รับจากการมอง
เห็น การได้ยิน การรับกลิ่น การรับรส การรับความรู้สึกร้อนหรือหนาว ความรับรู้ความเจ็บ การรับรู้ความรู้สึกของกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ หรือการรับรู้การเคลื่อนไหวและตำแหน่งของร่างกาย
ABA มีคำจำกัดความ หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักการในการวิเคราะห์พฤติกรรม และนำมาใช้อย่างมีระบบเพื่อให้เกิดผลต่อพฤติกรรมทางสังคมที่ดีขึ้น โดยใช้การทดลองเพื่อระบุค่าตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนั้น
จากทฤษฎีที่ระบุว่าพฤติกรรมนั้นได้รับการเรียนรู้และถูกจัดรูปแบบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าและเหตุการณ์ภายหลังพฤติกรรมนั้น ในการที่จะจัดรูปแบบให้เกิดพฤติกรรมที่มีความหมาย พฤติกรรมที่มีลักษณะเฉพาะจะถูกนำมาวิเคราะห์ จัดเตรียมระบบ ตลอดจนวิเคราะห์ระบุถึงผลที่จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งรวมถึงการให้แรงเสริมต่อเด็กอย่างมีความหมาย
Verbal Behavior ได้ถูกเขียนในหนังสือของ B.F. Skinner ในปี 1957 ที่วิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ รวบรวมสิ่งทั้งหลายที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษา การเรียนภาษาและการพูดภาษา หรือ การพูด สำหรับ Skinner นั้น คือพฤติกรรมทางวาจา พฤติกรรมทางวาจารวมถึงการพูด การเขียน ภาษามือ และภาพ หลักการณ์ของ Applied Behavior Analysisได้ถูกนำมาใช้ในการสอนติกรรมทางวาจา นอกจากนั้นแล้ว พฤติกรรมทางวาจาที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงจะถูกนำมาวิเคราะห์ จัดเตรียมระบบ ตลอดจนชี้ระบุถึงผลที่จะเกิดขึ้นตามมา ซึ่งรวมถึงการให้แรงเสริมที่มีความหมาย