จากตอนที่ 1 และ 2 ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือได้นำเสนอวิธีการสังเกตเบื้องต้น สำหรับลักษณะเด็กที่มีความเสี่ยงที่อาจจะเป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้หรือ LD ในตอนที่ 3 นี้ มีแนวทางการช่วยเหลือเด็ก LD มาฝากค่ะ
แม้เด็ก LD จะไม่สามารถวินิจฉัยได้ชัดเจนในเด็กต่ำกว่า 6 ขวบ แต่ก็สามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล โดยเฉพาะในกลุ่มที่ใช้มือไม่เก่ง งุ่มง่าม ซุกซน พูดช้า การทรงตัวไม่ดี สับสนทิศทาง สับสนซ้ายขวา หรือเด็กที่อายุเกินชั้นป. 1 แล้วยังพูดไม่ชัด มีปัญหาเรื่องของการใช้ภาษา พูด อธิบายหรือเล่าอะไรไม่ได้ ประโยคไม่ปะติดปะต่อ ก็อาจจะมี LD ร่วมด้วย และเมื่อถึงวัยประถมศึกษาที่ต้องแสดงความสามารถทางการเรียนแยกย่อยรายวิชา ปัญหาก็จะแสดงให้เห็นเด่นชัดขึ้น
นอกจากนี้ สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเด็กที่มักจะไม่มีระเบียบในชีวิต ขี้ลืม หาของไม่ค่อยเจอทั้งที่อยู่ใกล้ตัว เด็ก LD จะไม่ค่อยสนใจอ่าน เขียน และทำการบ้าน มีลายมือสูงๆ ต่ำๆ ผอมๆ อ้วนๆ ปะปนกันในหนึ่งบรรทัด เขียนไม่เป็นระบบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างไม่รอบคอบ ผิดๆ ถูกๆ.
ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือช่วยลูกท่านได้ศูนย์ฯ ได้ออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเรียนสำหรับเด็กแต่ละคนที่ประสบปัญหาด้านการเรียนรู้ ด้วยการทำงานร่วมกันของทีมครูการศึกษาพิเศษและทีมนักกิจกรรมบำบัด
ผู้ปกครองที่สงสัยว่าลูกเป็น LD สามารถติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมและขอรับการประเมินและคัดกรอง LD ได้ที่ศูนย์เพื่อเด็กพิเศษแสงเหนือ ทางศูนย์ฯ ใช้แบบประเมินมาตรฐานของประเทศไทย สำหรับใช้กับนักเรียนคนไทยโดยเฉพาะครูการศึกษาพิเศษได้ผ่านการอบรมการใช้แบบประเมินเฉพาะด้านนี้ ประกอบกับการทำงานร่วมกับนักกิกรรมบำบัด ที่มีแบบประเมินเฉพาะทางอีกชุดหนึ่งซึ่งจะทำให้ทราบโดยละเอียดว่าเด็กมีปัญหาในด้านใดเพื่อจัดโปรแกรมการฝึกเป็นรายบุคคล
สอบถามหรือขอรับความรู้เพิ่มเติมได้ที่
โทร. 084-728-3492
Line : @northlight
Facebook : https://www.facebook.com/specialneeds.bangkok/