การบำบัดดูแลมุ่งเน้นที่การสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ และการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและตอบสนองผ่านทักษะสังคมที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการบูรณาการประสาทความรู้สึก ทีมงานบำบัดประกอบด้วยนักจิตวิทยาพัฒนาการ นักวิเคราะห์พฤติกรรมแบบประยุกต์ นักแก้ไขการพูด และนักกิจกรรมบำบัดทำงานร่วมกันในกระบวนการบำบัดนั้นๆ ศูนย์ฯ จะวัดผลสัมฤทธิ์จากเป้าประสงค์การรักษาและการสังเกตการณ์ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยถือว่าครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการบำบัด ทางศูนย์ฯจะให้การสนับสนุนแก่ครอบครัวทางด้านองค์ความรู้ และแนวทางการดูแล นอกจากนี้ ศูนย์ฯยังมีทำงานร่วมกับหน่วยงาน นักวิชาชีพ และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ โดยตรง อาทิ แพทย์ นักวิเคราะห์พฤติกรรม ครูการศึกษาพิเศษ และนักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้ผู้ปกครองได้มั่นใจในแนวทางการมอบการบำบัดแบบสหวิชาชีพ
การกระตุ้นพัฒนาการแบบเข้มข้น เน้นมอบบริการให้กับเด็กที่มีการพัฒนาการในระยะแรกเริ่ม โดยมอบการวิเคราะห์พฤติกรรม พร้อมกับการสอนทักษะการสื่อสารทางสังคม พฤติกรรมที่เหมาะสม การเล่นที่มีจุดมุ่งหมาย การเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน การช่วยเหลือตนเอง ฯลฯ เป็นการสอนแบบเข้มข้นต่อเนื่องจำนวน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
การกระตุ้นพัฒนาการในระยะแรกเริ่มคืออะไร? สำคัญอย่างไร? การกระตุ้นพัฒนาการในระยะแรกเริ่ม คือระบบการให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าและครอบครัวตั้งแต่วัยแรกเริ่ม ซึ่งถือเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในอนาคตมากที่สุด โดยเริ่มต้นจากความร่วมมือระหว่างผู้ปกครองและนักวิชาชีพ กระบวนการกระตุ้นพัฒนาการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งนี้จะให้ประโยชน์ต่อทั้งตัวเด็ก ครอบครัว และชุมชน
โปรแกรมกระตุ้นพัฒนาการในระยะแรกเริ่มจะสามารถช่วยเหลือครอบครัวในระยะยาวได้ดังนี้:
a.
เมื่อได้รับการช่วยเหลือจะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาการทางร่างกาย สังคม อารมณ์ และการศึกษาเพิ่มขึ้น
b.
ช่วยลดค่าใช้จ่ายระยะยาวในการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาพิเศษ การฟื้นฟู และการดูแลสุขภาพ
c.
ช่วยลดปัญหาการแยกตัวออกจากสังคม ความเครียด ความกังวลที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว
d.
ช่วยเหลือในการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีและช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์โดยใช้กลยุทธ์การฝึกพฤติกรรมเชิงบวกและการกระตุ้นพัฒนาการ
e.
ช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีจุดมุ่งหมาย และเป็นบุคคลที่มีความสามารถช่วยเหลือตนเองสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
หากเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วมากเท่าใด เด็กก็จะสามารถก้าวต่อไปในอนาคตได้ไกลมากเท่านั้น
การสอน ABA กับเด็กรายบุคคลนั้น เหมาะสมกับเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากศูนย์ฯ ครอบครัวสะดวกเข้ารับบริการสัปดาห์จะครั้ง หรือเหมาะสำหรับเด็กในวัยเรียน ที่ยังมีความบกพร่องด้านทักษะสังคม และการสื่อสารทางสังคมอยู่บ้าง การมอบการสอนและการฝึกฝนโดยผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนจากพฤติกรรมเดิม เป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมในบริบทที่สังคมพึงประพฤติ ปฏิบัติมากขึ้น
การสอนทักษะการสื่อสารทางสังคมในรูปแบบกลุ่ม หรือ ABA Social Communication Group Session นั้น เหมาะสมกับเด็กในวัยเรียน ที่ทางครอบครัวสังเกตได้ถึงความประพฤติ และอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมในบริบททางสังคม ไม่ว่าจะการปฏิบัติต่อพ่อแม่ พี่น้องในครอบครัว หรือเพื่อนที่โรงเรียน ในบางรายครูทางโรงเรียนแนะนำให้เด็กควรได้รับการส่งเสริมความประพฤติในบริบททางสังคม โดยเฉพาะการมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน การสอนทักษะการสื่อสารทางสังคมนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลากหลายให้กับเด็กในระยะยาว สอนให้เด็กตระหนักต่ออารมณ์ และควบคุมอารมณ์ได้มากขึ้น สามารถส่งเสริมความสัมพันธ์กับเพื่อนในโรงเรียน หรือกับพี่น้องภายในครอบครัวได้เป็นอย่างดี